phramahaweera.siam2web.com พระมหาวีระ ปุญฺญวีโร Wat Anongkharam

 

 

                                 พระธรรมเทศนาวิสาขบูชา

https://www.facebook.com/PhramahaWeera/videos/1566119633950645

https://www.facebook.com/PhramahaWeera

 

                       บรรยายออนไลน์หลักธรรมกับการศึกษา


https://www.youtube.com/watch?v=-ivDewaeYWU

 

                                                                                                                                                                            ตัวอย่างเทศน์งานศพ

 

 

 

โดยสำนวน พระมหาวีระ ปุญฺญวีโร

ทหรา จ มหนฺตา จ     เย พาลา เย  จ ปณฺฑิตา  

สพฺเพ  มจฺจุ วสํ  ยนฺติ     สพเพ  มจฺจุ  ปรายนาติ.

บัดนี้อาตมภาพจักได้ชี้แจงแสดงพระสัทธรรมเทศนาในมรณกถา พรรณนาถึงความตาย เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาบารมีของท่านเจ้าภาพ............................และท่านสาธุชนทั้งหลายที่ใคร่สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนา เพื่อให้เกิดอัปปมาทธรรม คือธรรมที่ว่าด้วย

ความไม่ประมาท ที่จะทำให้เราได้สำเหนียกถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แห่งสังขารร่างกาย ที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนในชีวิตการเป็นอยู่ของเรา และเป็นสิ่งที่เตือนให้ท่านสาธุชนทั้งหลายมีสติในการดำเนินชีวิต ในการเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาทนั่นก็คือ ไม่ประมาทในรูป ไม่ประมาทในวัย และไม่ประมาทในความไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่ท่านทั้งหลายจะพึงตระหนักรู้และเข้าใจ ในสังขาร ร่างกาย เป็นลำดับสืบต่อไป

จนกว่าจะยุติลงด้วยเวลา  วันนี้ท่านเจ้าภาพได้จัดให้มีการเทศน์ขึ้นเพราะได้พิจารณาถึงอานิสงส์แห่งการฟังธรรมว่าด้วยมรณกถา ที่จะบังเกิดมีแก่ท่านสาธุชนทั้งหลาย ที่ได้มาร่วมงานฌาปนกิจศพของ.................ในวันนี้เพื่อตระหนักและสำเหนียกถึงความตายอันมีสาระที่จะพึงคำนึงและได้ประจักษ์ดังต่อไปนี้                                                        

 

๑.ได้นึกถึงความดีของผู้วายชนม์ หมายความว่า  ท่านเจ้าภาพก็ดี ท่านสาธุชนทั้งหลายก็ดี ที่มาร่วมงานในวันนี้ได้เห็นคุณค่าแห่งชีวิตของผู้ตายปรากฎเด่นชัดขึ้น การมองเห็นความดีที่ผู้ตายได้ทำเอาไว้ ทำให้เกิดความ

อาลัยเสียดาย  เทิดทูน ทะนุถนอม ไม่อยากพลัดพราก จากกันไป แต่สิ่งที่จะปรากฎและประจักษ์ในใจของลูกหลานนั้นก็คือความดี ของผู้ตายที่ฝากเอาไว้ดังบทร้อยกรองที่ว่า

"พฤษภกาสรอีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง สำคัญหลายในกายมี

นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

สถิตทั่วแต่ชั่วดี  ประดับไว้ในโลกา"    

จะเห็นได้ว่า คุณงามความดี รวมถึงชื่อเสียง เกียรติยศ ที่ผู้ตายได้สร้างเอาไว้ จะอยู่ในใจของลูกหลานตลอดไป โดยไม่มีวันลืม

๒.ได้เห็นน้ำใจของคนอยู่  หมายความว่า ทำให้ญาติสนิท มิตรสหาย ในวงศาคณาญาติ  เกิดความเห็นใจ เข้าใจ รักใคร่ ไม่ทอดทิ้งหรือนิ่งดูดาย ถึงแม้ผู้ตายจะล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว แต่ความรักความสามัคคี ของญาติพี่น้อง ยังปรองดองกันเหมือนเดิม ยังไปมาหาสู่กันอย่างเช่นเคย

๓ ได้เรียนรู้ถึงสัจธรรม หมายความว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนดับไปเป็นธรรมดา ข้อนี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของการมาร่วมงานฌาปนกิจศพ เพราะจะทำให้เรามีสติ ได้ความ

สำนึกที่ดี ไม่มีความประมาทในการดำเนินชีวิต และได้พิจารณาถึงหลักของพระไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ ความไม่คงที่คงทน ทุกขํ ทนอยู่ไม่ได้  อนตฺตา มันไม่อยู่ในวิสัยที่เราจะกำหนดได้ อะไรเล่าที่ชื่อว่า ไม่เที่ยงหรือ

ไม่คงที่คงทน ได้แก่ รูปํ อนิจฺจํ   รูปไม่เที่ยง เวทนา อนิจฺจา, เวทนาไม่เที่ยง สญฺญา อนิจฺจา สัญญาไม่เที่ยง

สงฺขารา อนิจฺจา สังขารไม่เที่ยง  วิญฺญาณํ อนิจจํ วิญญาณไม่เที่ยง จะเห็นได้ว่าร่างกายของเรา

ไม่เที่ยงแท้แน่นอน จากปฐมวัย กลายเป็น มัชฌิมวัย และสุดท้ายเข้าปัจฉิมวัย ในที่สุด ทำให้เราเห็นอะไรๆในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปหมดเช่น ……

 

ที่ดำแล้วกลับขาว ได้แก่ ผมที่เคยดกดำเป็นเงางาม เมื่อวัยชราเข้ามาเยือนก็กลับกลายเป็นสีเป็นขาว ที่เคยดูสวยสดงดงาม พอเข้ากลางวัยหัวใจแท้แทบกระเส่า ต่อเมื่อเข้าปัจฉิมวัย  จิตใจหวั่นไหว ไม่คงที่คงทน

ปลายฝนต้นหนาว กลัวความตายเข้ามาเยือน

 

ที่ยาวกลับสั้น ได้แก่ สายตา เมื่อตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว เคยมองเห็นอะไรได้ไกลๆ ชัดเจนแจ่มแจ้งพอวัยสุดท้ายก็ฝ้าฟางมืดมัวไปตามกาลตามเวลาที่เราใช้มันมานาน

 

ที่มั่นแล้วกลับคลอน ได้แก่ ฟัน เมื่อปฐมวัย เคยมั่นคงแข็งแรง จะขบ จะเคี้ยว จะกินก็ไม่ลำบาก แต่พอเข้าวัยชราในที่สุดก็หลุด ร่วงเหลือแต่เงือก

 

ที่หย่อนแล้วกลับตึง ได้แก่ หู  เมื่อยามหนุ่ม สาว เนื้อหนังมังสามันเต่งตึงไปทุกส่วน ดูดีไปหมด  แต่พอเข้าวัยชราใกล้จะมรณาลาโลกมันกลับหย่อนยานเหลืออยู่อย่างเดียว ยิ่งแก่ยิ่งตึง คือ....หู

 

ที่ซึ้งกลับเซอะ ได้แก่ สัญญา หมายเอาความจำได้หมายรู้ เมื่อตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว มีสติ ปัญญา ว่องไว จำแม่น พอแก่ชรา ก็พาเลือนหลง ฟั่นเฟือน ขี้หลงขี้ลืม ไปตามสภาพตามเวลา ทั้งหมดนี้คือความไม่คง

ที่คงทนของสังขารร่างกาย จึงเป็นเหตุให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจในหลักของอนิจฺจํ อย่างถ่องแท้ถึงวัยที่ปรากฎในชีวิตคือ  วัยต้วมเตี้ยม  วัยเตาะแตะ วัยเต่งตึง วัยตรมตรอม และ วัยต้องตาย หรือ จะเรียกว่า วัยพึ่ง

วัยพบ วัยเพียร วัยพัก วัยพราก ก็ย่อมได้  ประการต่อมา ทุกขํ คือความทุกข์  ความเจ็บปวด ทรมาน ทำให้เราทุกข์ทั้งกาย และใจ  ทุกข์นั้นได้แก่อะไรเล่า ได้แก่ชาติปิ ทุกฺขา แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์  ชราปิ ทุกฺขา

 

แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์  มรณมฺปิ ทุกฺขํ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา  แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์  อฺปปิเยหิ

สมฺปโยโค ทุกฺโขความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์  ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโขความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ยมฺปิจฺฉํ  น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็

เป็นทุกข์ ความทุกข์ทั้งหมดนี้นับว่าเป็นความทุกข์ที่ทุกท่านทุกคนจะต้องประสบอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นเราจะไม่เป็นทุกข์เพราะทุกๆชีวิตก็จะต้องพลัดพรากล้มหาย ตายจากกันไปอย่างแน่นอน ไม่วันใดวันหนึ่งถึง

เป็นเช่นนั้น ไม่ช้าหรือเร็ว ให้เราทุกคนถือว่า ป็นสัจธรรมที่แท้จริงของชีวิต ท่านทั้งหลาย ถ้าจะให้กล่าวถึงความทุกข์นั้นมีมากมายหลายประการ แต่ถ้าจะสรุปให้สั้นได้ใจความ ย่อลงเป็น 2 ประการ คือทุกข์ประจำ

กับ ทุกข์จร  ทุกข์ประจำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สภาวทุกข์ ก็คือ ความเกิด  ความแก่  และความตาย นอกจากนี้เราเรียกว่า ทุกข์จร เพราะเดี๋ยวก็จรมา เดี๋ยวก็จรไป เปรียบเหมือน ใจเรา เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย บ้างครั้งก็

เป็นมาร บางกาลก็เป็นเทวดา บางเวลาก็เป็นพระ บางจังหวะ ก็เป็นพรหม บางอารมณ์ก็เป็นยักษ์  บางพักก็เป็นคน บางหนก็เป็นมนุษย์อะไรทำนองนี้ท่านทั้งหลาย   และสุดท้าย อนตฺตา ได้แก่ สิ่งที่ไม่อยู่ในวิสัยที่เรา

จะกำหนด กฎเกณฑ์ได้ เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยของคำว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ดังพระบาลีที่ว่า  รูปํ อนตฺตา รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนา อนตฺตา เวทนาไม่ใช่ตัวตน สญฺญา อนตฺตา สัญญาไม่ใช่ตัวตน สงฺขารา

อนตฺตา สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญฺญาณํ อนตฺตา วิญญาณไม่ใช่ตัวตน   เพราะสิ่งทั้งหลายไม่อยู่ในอำนาจของเรา จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป แม้แต่ร่างกายของเราก็ต้องแตกดับไป ไม่จำต้องกล่าวถึงสิ่งของที่เรารัก เรา

ชอบใจสักวันใดวันหนึ่งเราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้นอย่างแน่นอน สิ่งที่หลีกไม่ได้ หนีไม่พ้น ทุกคนต้องประสบได้แก่ ชรา พยาธิ มรณะ ให้ทุกท่านทุกคนจำให้ขึนใจว่า เราเกิดมาเราต้องเสียอยู่ ๓ อย่างด้วยกัน

คือ  เสียชีวิต เสียของรัก และเสียคนรักอย่างแน่นอน ดังพุทธสุภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า นตฺถิ โลเก อนามตํ แปลใจความว่า  ไม่มีสถานที่ใด ไร้คนตาย มีเกิดที่ไหน ความตายย่อมมีที่นั่น น มิยฺยมานํ

ธนมนฺเวติ กิญจิ แม้ทรัพย์นิดเดียว ก็ติดตามตัวคนตายไปไม่ได้ ให้พิจารณาอยู่เสมอว่า เราหนีความแก่ไม่ได้ หนีความเจ็บไข้ไม่พ้น ทุกคนต้องมรณา ต้องอำลาจากสิ่งที่รักและชอบใจ และที่สำคัญต้องใส่ใจในหลัก

ธรรมให้มาก ซึ่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ว่า ชราธมฺโมมฺหิ ชรํ อนตีโต เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่สามารถจะล่วงพ้นความแก่ไปได้  พฺยาธิธมฺโมมฺหิ พธาธึ อนตีโต เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่

สามารถจะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้  มรณธมฺโมมฺหิ มรณํ อนตีโต เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่สามารถจะล่วงพ้นความตายไปได้

 

อันความตาย                      ชายนารี                    หนีไม่พ้น    

 

 มีหรือจน                          ก็ต้องตาย              กลายเป็นผี

 

ถึงแสนรัก                          ก็ต้องร้าง              ห่างทันที   

 

ไม่วันนี้                              ก็วันหน้า              ช้าหรือเร็ว  

 

 จากบทกลอนข้างบนสะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าจะรูปสวย รวยทรัพย์ ปัญญามี จะเป็นคนดี คนโง่ ก็ตามย่อมไปสู่อำนาจแห่งความตายกันทั้งนั้นดังสุภาษิตที่ยกไว้ณ เบื้องต้น ว่า ทหรา จ มหนฺตา จ เป็นต้น ท่าน

สาธุชนทั้งหลาย แม้ว่าเราจะมีอำนาจวาสนาใหญ่โตสักเพียงไร ก็หนีไม่พ้นพญามัจจุราช เมื่อความตายมาถึงหรือ ครอบงำแล้ว  บุตรธิดาจะรั้งไว้ก็ไม่หยุด บิดามารดาจะฉุดไว้ก็มิได้ ญาติสนิทมิตรสหายเพียงแต่แลดู

ใครก็ช่วยไม่ได้ เพราะฉะนั้น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรดา ถ้าบุคคลใดหมั่นพิจารณาเนื่องๆ ไม่หลงลืมแล้ว ก็เท่ากับมีมนต์วิเศษกำจัดทุกข์ เหตุนี้ผู้มีปัญญาไม่ประมาทในชีวิต จึงยินดี เจริญมรณสติ เพราะ

เห็นอานิสงส์แห่งความตายว่า ความตาย คือสหายสนิท ชีวิตพร้อมที่จะอำลา จงพร่ำภาวนา เป็นมนตรากันลืมตน   ท่านทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า ความตาย ไม่มีใครปรารถนา ไม่มีใครอยากประสบกับตัวเอง และญาติพี่

น้อง เพราะความตายคือสิ่งที่สูญเสีย  ทำให้เศร้าโศก เสียใจ พิไรรำพัน แต่พระพุทธเจ้าของเรา พระองค์กลับให้ระลึกถึงความตายเสมอๆ (มรณานุสสติ) ดังนั้นความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว น่ารังเกียจ หรือแม้ผู้คนพา

กันพูดคำว่า ตาย คนส่วนมากกลับมองว่า ปากเสนียด ปากไม่เป็นมงคลอะไรทำนองนี้ แต่พระพุทธองค์กลับตรัสว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้เรามีสติ ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตชีวิต

 

๔. ได้รีบสร้างกุศลกรรม หมายความว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ให้รีบทำคุณงามความดีให้มากๆ อย่าประมาทในวัย อย่าคิดว่าตัวเองยังหนุ่ม ยังสาว ยังไม่แก่เฒ่า เข้าวัยชรา มัวแต่เพลิดเพลินในสิ่งต่างๆจนมากไป ลืมสั่งสม

บุญทานการกุศล เพราะผลบุญ นั้นยังให้ความสุขในเวลาใกล้ตาย  และยังหนุนนำไปสู่ปรโลกอีกด้วย ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ ดังนั้นบุญให้ความสุขในโลกนี้ยังไม่พอ ยังตาม

ไปเป็นที่พิ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้าอีกด้วย ท่านทั้งหลาย เมื่อมีชีวติอยู่ ขอให้รีบทำความดีเสียแต่ในกาลบัดนี้ ใคร่เล่าจะรู้ความตายจะมาถึงในวันพรุ่ง  เราไม่สามารถต่อสู้เอาชนะพญามัจจุราชได้ ชีวิตเป็น

อนิจฺจํ ดังกล่าวมาแล้ว เราไม่สามารถทราบว่า จะมั่นคงยืนยาวไปได้สักกี่ปี โดยเฉพาะเวลานาทีจะพลัดพรากจากกันนั้นไม่อาจรู้หรือกำหนดให้แน่นอนได้ อย่าลืมว่า  เช้ายังแลเห็นหน้าสายตาย สาย ยังอยู่สบาย

บ่ายม้วน บ่าย ยังรื่นเริงกายเย็นดับชีพแฮเย็นเย็นยังหยอกลูกด้วยค่ำม้วยอาสัญ  ท่านทั้งหลายไม่ว่า จะเช้า สาย บ่าย เย็น เราล่วงลับดับขันธ์ได้ทั้งนั้เพราะฉะนั้นคนมีปัญญา เขาจะ  ตระเตรียม ก็คือเตรียมพร้อมซ้อม

ตาย  เกิดเป็นคนต้องเตรียม ถ้าไม่เตรียมเสียเหลี่ยมของความเป็นคน  เตรียมอะไรเล่า  ก็คือ เตรียมตัวก่อนตาย เตรียมกาย ก่อนแต่ง เตรียมน้ำก่อนแล้ง เตรียมแบงค์ก่อนไป และก็เตรียมใจก่อนสู้ คำว่า เตรียม ใน

ทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความไม่ประมาทนั่นเอง อย่าลืมว่า....  วันเวลา วารี ไม่เคยรอใคร  เรือ เมล์ รถไฟ ต้องไปตามเวลา มัวโอ้เอ้  อีดอาด มักพลาดปรารถนา พลาดแล้ว โศกาอนิจจา จะโทษใคร....?

ทีนี้เราหันมาพิจารณาประการแรกของคำว่าเตรียมตัวก่อนตายคือเตรียมอย่างไร? คือ

 

  ๑.ละห่วงนอก หมายความว่า ปลดปล่อยห่วงหรือพันธะที่พันธนาการไว้ให้เป็นอิสระ ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่อยู่ภายนอกกายให้มาก เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราห่วงหน้าพะวงหลัง

 

 ๒.สำรอกห่วงใน หมายความว่า ให้คิดพิจารณาถึงเรื่องสังขารร่างกายให้มาก ให้มองความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นสภาวทุกข์ และเป็นธรรมดาของสัตว์โลก

 

๓.นึกถึงพระไตร หมายความว่า เข้าใจความเป็นไปของพระไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา ให้ถ่องแท้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ก็ดับไปในที่สุด

 

๔. มั่นในพุทธคุณ ก็คือ ชีวิตของเราจะมีดี หรือมีค่า ก็ขึ้นอยู่การกระทำของบุคคลนั้นๆ เกิดมาทั้งทีทำดีให้ได้ จะตายทั้งทีเอาดีฝากไว้ สรุปว่า ยึดเอาบุญกุศลคุณความดีเป็นสรณะ สุคติย่อมหวังได้  หรือจะเรียกว่า

 

มาดี ไปดี   อุบายทั้ง 4 นี้จะช่วยให้ใท่านสาธุชนทั้งหลาย อยู่ก็สบายไปก็สะดวก อยู่ก็ไม่ลำบาก จากก็ไม่ลำเค็ญ บุคคลเช่นนี้อาตมาเชื่อว่า ไม่กลัวความตายเป็นแน่

 

       เทสนาปริโยสาเน ในกาลเป็นที่สุดลงแห่งพระสัทธรรมเทศนา  ดังที่อาตมาได้ชี้แจงแสดงมา ก็พอเป็นสาระ ธรรมะคติสอนใจแก่ท่านทั้งหลายในการดำเนินชีวิต ได้ข้อคิดถึงสัจจธรรมที่แท้จริงของชีวิต  ดัง

พุทธสุภาษิตที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้เป็นปัจฉิมโอวาท ว่า  หนฺท ทานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว  วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สปฺปาเทถ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้ง

หลายเป็นครั้งสุดท้ายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯดังนั้น ท่านสาธุชนทั้งหลายจงดำเนินชีวิตไปด้วยความไม่ประมาท ให้พิจารณาถึงความเกิด

ขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสังขารร่างกายอยู่เสมอๆ เพราะสรรพสิ่งสิ้นสุดที่วิบัติ สรรพสัตว์สิ้นสุดที่ความตาย พิจารณาได้อย่างนี้พญามัจจุราชก็ไม่กล้าเข้าใกล้  เพราะเรา ระลึก รู้ สู้ รับ กับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้

โดยไม่กลัวความตาย ระลึกคือเตรียมพร้อม ซ้อมใจ ไม่กลัว  รู้ คือ รู้เท่าทัน ไม่หวั่นไหว รู้เท่าเอาไว้กัน รู้ทันเอาไว้แก้  สู้ ก็คือ ไม่หนี ถึงหนีก็ไม่พ้น ทุกคนต้องประสบ รับ คือ ยอบรับ ทำใจได้ ตายเป็นตาย  เท่า

นี้ก็ชื่อว่า เป็นผู้ดำเนินชีวิตไปด้วยความไม่ประมาท  อิมินา กตปุญฺเญน ด้วยอานิสงส์ผลบุญที่ท่านเจ้าภาพ ได้บำเพ็ญในวันนี้จงเป็นพลวปัจจัยแก่............................ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น  อาตมภาพได้ชี้

แจงแสดงพระสัทธรรมเทสนามาก็พอสมควรแก่เวลาจึงขอน้อมยุติลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้   เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 

ปริศนาธรรม ที่ควรรู้เมื่อนึกถึงความตาย

 

อะไรเอ่ย สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป? สี่คนหามก็คือ ตัวเรา ซึ่งเกิดจากการประชุมกันของธาตุทั้ง ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ เตโชธาตุ ซึ่งก็คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ

นั่นเอง สามคนแห่ ก็คือ พระไตรลักษณ์3 ได้แก่ อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา หนึ่งคนนั่งแคร่ก็คือ จิต อันคนเรานั้นประกอบด้วยสองส่วนคือ รูปกับนาม รูป เกิดจากการประชุมกันของ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนนามก็คือ จิต สอง

คนพาไปก็คือ บุญกับบาป

 

อะไรเอ่ย? พญายักษ์ตนหนึ่งนา มีหน้า ๓ หน้า มีตา ๒ ข้าง ข้างหนึ่งสว่าง ข้างหนึ่งริบหรี่ มีปาก ๑๒ ปาก มีฟันไม่มาก ปากละ ๓๐ ซี่ กินสัตว์ทั้งปฐพี พญายักษ์ตนนี้ได้แก่อะไร เฉลย พระกาล (เวลา) - มีหน้า

๓ หน้า ได้แก่ ปีหนึ่งมี ๓ ฤดูกาล คือ หน้าร้อน หน้าฝน หน้าหนาว - มีตา ๒ ข้าง ได้แก่ กลางวัน และ กลางคืน - ข้างหนึ่งสว่าง ได้แก่ กลางวัน - ข้างหนึ่งริบหรี่ ได้แก่ กลางคืน - มีปาก ๑๒ปาก ได้แก่ ปี

หนึ่งมี ๑๒ เดือน - มีฟันไม่มากปากละ ๓๐ ซี่ ได้แก่ เดือนหนึ่งมี ๓๐ วันเป็นประมาณ - กินสัตว์ทั้งปฐพี ได้แก่ เกิดมาแล้วมีอันต้องตายทุกรายไป

 

อะไรเอ่ย? ยามเช้าเจ้าสี่ขา คลานไปมาร้องไห้แง เที่ยงวันกลับผันแปร เป็นสองขาน่าแปลกใจ สายัณห์ตะวันเย็น กลับกลายเป็นสามขาได้ สัตว์นี้คืออะไร ใครตอบได้ เฉลย ยามเช้าเจ้าสี่ขา คลานไปมาร้องไห้แง

ได้แก่ ทารกที่ยังเดินไม่ได้ต้องคลานไปมา - เที่ยงวันกลับผันแปร เป็นสองขาน่าแปลกใจ ได้แก่ โตเป็นหนุ่มสาว ยืนสองขาท่าทางสง่า - สายัณห์ตะวันเย็น กลับกลายเป็นสามขาได้ ได้แก่ พอแก่เฒ่าต้องใช้ไม้เท้า

ช่วย สัตว์นี้คือ มนุษย์ นั่นเอง!

 

ปริศนาธรรมจาก ตาลปัตร งานศพ เวลาเราไปงานศพ เราจะเห็นว่ามีพระ๔ รูปมาสวดตอนกลางคืน ทราบไหม ว่า ปริศนาธรรม ที่ ตาลปัตร ว่า ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น มีนัย หรือ หมายความว่า

อย่างไร………. ไปไม่กลับ คือ เวลา ให้เตือนตนว่าวันเวลาที่ผ่านไปไม่อาจจะย้อนคืนมาได้ เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เราควรพิจารณาไตร่ตรองว่าได้กระทำสิ่งใดไปบ้าง สิ่งที่เป็นบวกก็พึงกระทำต่อไป สิ่งที่เป็นลบก็ควรปรับ

ปรุง หลับไม่ตื่น คือ โมหะ ความลุ่มหลง ถ้าคนเราหลงอยู่ในโมหะ ราคะ อัตตา ก็จะตกอยู่ในความมืดมน มองไม่เห็นหนทางแห่งความหลุดพ้น ฟื้นไม่มี คือ กิเลส ตัณหา ที่ดับสนิทแล้ว เหมือนไฟหมดเชื้อ ไม้หมด

ยาง หรือคนตายแล้ว หนีไม่พ้น คือ แก่ เจ็บ ตาย รวมถึงผลวิบากกรรม

 

คำกลอนสอนธรรมใช้เตือนสติได้

 จากนักปราชญ์หลายๆท่านได้แต่งเอาไว้

 

หนีไม่ได้                                                                                 

  จะหนีอื่น  หมื่นแสน  ในแดนโลก                                                                

พอย้ายโยก  หลบลี้  หนีพ้นได้                                                                       

แต่หนีหนึ่ง  ซึ่งมีชื่อ  คือหนีตาย                                                                   

หนีไม่ได้  ใครไม่พ้น  สักคนเดียว                                                            

  มองตน 

 

  คืนและวัน     พลันดับ    และลับล่วง                                                       

 ท่านทั้งปวง   จงอุตส่าห์  หากุศล

มองชีวิต         คิดถึง         รำพึงตน                                                               

ชีวิตคนนั้น     ไม่ยืน         ถึงหมื่นปี                                                              

 ตายทุกคน                                                                              

อันความตาย    ชายนารี           หนีไม่พ้น                                                    

 มีหรือจน         ก็ต้องตาย         กลายเป็นผี                                   

ถึงแสนรัก       ก็ต้องร้าง         ห่างทันที                                                      

ไม่วันนี้            ก็วันหน้า         ช้าหรือเร็ว                                                              

ยมบาลไม่รับสินบน                                                                         

  เมื่อถึงคราวม้วย  ใครก็ช่วยไม่ได้              ต่อให้เหาะขึ้นไป อยู่บนสวรรค์                             

ก็จำต้องพราก จากวิมาน                         

  เพราะยมบาล  ท่านไม่รับสินบน                        

  ถึงคราวตายแน่  ยาแก้ไม่มี                      

   ตายแน่เราหนี   มันไปไม่พ้น                           

 จะเป็นราชา  หรือมหาโจร                    

    ต้องทิ้งกายสกนธ์  อยู่บนเชิงตะกอน                             

 สาเหตุแห่งทุกข์                                                                               

ทุกข์มี     เพราะยึด                                  

ทุกข์ยืด  เพราะอยาก                                                                            

  ทุกข์มาก    เพราะพลอย                            

   ทุกข์น้อย  เพราะหยุด                                                                           

  ทุกข์หลุด  เพราะปล่อย

อยากมากทุกข์มาก     อยากน้อยทุกข์น้อย                หมดอยากหมดทุกข์

ละครชีวิต                                          

 อันโลกเรานี้  เหมือนโรงละคร               

 ปวงนิกร  เราท่านเกิดมา                                                                            

ต่างร่ายรำ ทำทีทำท่า                             

 ตามลีลา  ของบทละคร                                                                 

 บางครั้งก็เศร้า  บางคราวก็สุข                    

  บางทีก็ทุกข์  หัวอกสะท้อน                                                                    

    มีร้างมีรัก  มีจากมีจร                             

    พอจบละคร  ชีวิตก็ลา                                                                                   

   อันวรรคตอน  ละครชีวิต                  

    เป็นสิ่งน่าคิด  นะท่านเจ้าขา                                                               

    กว่าฉากจะปิด  ชีวิตจะลา                       

   เราต้องทรมา  อย่างสุดประมาณ                              

 ความตายช่วยลดกิเลส                                                                                                                                           นึกถึงความตาย

สบายนัก                                                                                                                                  

มักหักรัก      

หักหลง     

 ในสงสาร                                                                                                                    

บรรเทามืด 

โมหันธ์     อันธการ                                                                                                                            

ทำให้หาญ   

ไม่ยุ่งใจ                                                             

เห็นใจกัน ยาม ๓ จ            ยามจน                   ยามเจ็บ                 ยามจาก                             

ค่าของคน                                                                                         

 ค่าของคน         มิได้นับ            เพราะทรัพย์มาก                                                 

หรือนับจาก      รูปลักษณ์        สูงศักดิ์ศรี                                                              

หากเกิดจาก      คุณงาม         และความดี                                                                

 ผลงานที่          จรรโลงโลก     ให้ไพบูลย์                                                             

 ค่าของคน                                                                                

  อันวัวควาย     ตายเหลือ   เนื้อหนังเขา                                                         

  ช้างตายเน่า     เหลืออยู่     งาคู่สอง                                                         

  มนุษย์เรา        ตายลง        เหมือนผงกอง                                                             

 เหลือสิ่งของ   ดีชั่ว           ติดตัวไป                                                                 

เมื่อส่งเขา – เราก็ถูกส่ง                                                                         

มาส่งเรา       เท่านี้         แหละพี่น้อง                                                                  

จะโศกร้อง   รำพัน           กันไฉน                                                             

และเมื่อถึง   วันหน้า         คราต่อไป                                                                

คงมีใคร       มาส่งท่าน     เหมือนวันนี้                                                            

ยมบาลมาทุกนาที                                                                            

 โลกหมุนเวียน       เปลี่ยนไป       ไม่คงที่                                                       

 ประเดี๋ยวดี          ประเดี๋ยวร้าย   หลายสถาน                                                        

ทั่วโลกา              ฟ้าลั่น         เหมือนสัญญา                                                                                                               

 ยมบาล             ผ่านมา         ทุกนาที                                                                  

มาเปล่าไปเปล่า                                         

ยามเจ้าเกิด  มีสิ่งใด   ติดกายบ้าง                                                               

 เห็นแต่ร่าง  เปลือยเปล่า  ไม่เอาไหน                                                 

 สร้างสมบัติ  พัสถาน บานตะไท                                                                                               

 ถึงคราวไป  ก็ไปเปล่า เหมือนเจ้ามา    

 

 มีสิ่งใด     ไปกับเจ้า  ก็เปล่าสิ้น                                                                                               

 ผ้าสักชิ้น   เงินสักเก๊   หรือเคหา                                                                                             

 สามีบุตร   สุดที่รัก  ยอดภรรยา                                                                                             

ไม่เห็นว่า จะตามไป หรือใครมี   

 

 เห็นแต่ธรรม  คำสอน  ขององค์พระ                                                                                             

 ที่พอจะ   ตามไป  ในเมืองผี                                                                                              

 เพราะฉะนั้น พึงหมั่นทำ แต่ความดี                                                                                                      

 เพื่อเป็นที่  พึ่งเจ้า  เมื่อคราวตาย                                                                 

 

มาเปล่า ไปเปล่า                                                                      

   เมื่อเจ้ามา   มีอะไร     มาด้วยเจ้า   

   เจ้าจะเอา  แต่สุข      สนุกไฉน    

   เมื่อเจ้ามา  มือเปล่า  เจ้าจะเอาอะไร     

  เจ้าก็ไป     มือเปล่า   เหมือนเจ้ามา

 

สินบนไม่ได้                                                                           

  แม้นมีเงินทอง   กองล้น   พ้นภูผา                                                              

  จะซื้อเอา   ชีวาไว้     ก็ไร้ผล                                                        

  เมื่อความตาย  มีหมายทั่ว  ทุกตัวคน                                                            

    ติดสินบน    เท่าไหร่      ชีพไม่คืน                                                              

   มันไม่แน่!                                                                                            

  อันร่างกาย   ชายหญิง  ไม่จริงแน่                                                                  

เกิดแล้วแก่    เจ็บตาย    วายสังขาร                                                              

แต่ชื่อเสียง   ชั่วดี      เหมือนตีตรา                                                                    

จะอยู่ช้า      เชิดชู    คู่โลกเอย

ราคาคน                                                                                 

   อันเป็ดไก่      ควายวัว                                                        

  เนื้อตัวมีค่า  ขายเป็นสินค้า                                                

 ได้ราคา       มีคนต้องการ                                                 

คนเราตาย     กายเน่าเหม็น                               

ไม่เห็นเป็นแก่นสาร เวลาสดชื่นก็มักรักกัน    คนนี้ของฉัน     คนนั้นของแก                                         

 แต่พอตายแหงแก่       ไม่ใช่ของแก      ไม่ใช่ของฉัน                                            

อานุภาพแห่งบุญ                                                                               

บุญเป็น        ที่พึ่ง        ถึงชาติหน้า                                                                  

 บุญนำพา     เป็นสุข      ทุกสถาน                                                              

บุญเป็นหลัก   ถึงมรรค     ผลนิพพาน                                                                 

บุญบันดาล     สารพัด      สวัสดี                                                                      

ไม่แน่นอน                                                                               

 เช้าเห็นหน้ากันอยู่              สายตาย                                                                   

สายยังอยู่สบาย                  บ่ายม้วย                                                         

บ่ายยังรื่นเริงกาย               เย็นดับ  ชีพนา                                                    

เย็นยังหยอกลูกด้วย          ค่ำม้วย  มรณา                                                   

   สิ้นท่าน ดังโลกมืด                                                                   

  เหมือนโลกความอบอุ่นถูกหมุนกลับ      แสงเทียนดับวูบแล้วแววไสว                                  

  มืดไม่มีแสงสว่างฉายทางใด             มีเพียงใจ ช้ำช้ำกับน้ำตา                               

  เมื่อท่านอยู่อยู่อย่างผู้สร้างเสริม         จากจึงเพิ่มโศกให้อาลัยหา                                

   สิ้นท่านแล้วสิ้นแสงแห่งดารา          เราต่างมาน้อมไหว้ไม่เสื่อมคลาย                               

  อันดีชั่วตัวตาย เมื่อภายหลัง           ชื่อก็ยังคงอยู่มิรู้หาย                                    

  เหมือนดวงตราตอกประทับติดกับกาย  เป็นเครื่องหมาย บอกทั่ว ทุกตัวคน                           

ส่วนความดีที่ท่านทำประจำชีพ          ดังประทีปส่องสว่างกลางเวหน                               

ท่านทำดี ดีสนองเป็นของตน            ถึงวายชนม์ ชื่ออยู่คู่โลกา                                      

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด                                                                          

วันพรุ่งนี้ อยู่ไกล ยังไม่เกิด         ช่างมันเถิด อย่าร้อน ไปก่อนไข้                                  

วันวานนี้ ผ่านแล้ว ให้แล้วไป      อย่าเอาใจ ไปข้อง ทั้งสองวัน                                 

ถ้าวันนี้ สดชื่น ระรื่นจิต            อย่าไปคิด หน้าหลัง มาคลั่งฝัน                               

 สิ่งที่แล้ว แล้วไป ให้แล้วกัน     สิ่งที่ฝัน ยังไม่มา อย่าอาวรณ์

รวยล้นฟ้า                                                                                                                                               

   อันยศลาภหาบไปไม่ได้แน่
เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลายให้ปวงชน
แม้ร่างตนเขาก็เอาไปเผาไฟ
อย่าแบ่งชั้นวรรณะเลยมนุษย์
ต่างถึงจุดสุดท้ายกลายเป็น

ผีหลุมฝังศพกลบสิ้นซากอินทรีย์      

ไพร่ผู้ดีมีหรือจนไม่พ้นตาย 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ท้องนิทานธรรมบทใช้ยกเป็นอุทาหรณ์                                                                                                         

 เรื่องของนางวิสาขา

                สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม ซึ่งนางวิสาขาเป็นผู้สร้างถวาย ใกล้กรุงสาวัตถี ขณะนั้น หลานสาวชื่อว่าสุทัตตีผู้เป็นที่รักเป็นที่พอใจอย่างยิ่งได้ถึงแก่กรรมลง ทำให้นางเศร้าโศกเสียใจร้องไห้รำพันถึงหลานรัก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้ง ๆ ที่กำลังร้องไห้อยู่ด้วย พระพุทธองค์ตรัสถามเหตุแห่งความเศร้าโศก ทรงทราบโดยตลอดแล้ว จึงตรัสถามว่า..   “ ดูก่อนวิสาขา ในพระนครสาวัตถีนี้ เธอต้องการบุตรหลานสักกี่คน ?” “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ต้องการบุตรหลานในพระนครนี้ทั้งหมด พระเจ้าข้า”    “ ดูก่อนวิสาขา ก็ในพระนครสาวัตถีนี้ มีคนตายวันละเท่าไร ?”   “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในพระนครสาวัตถีนี้ มีคนตายวันละ ๑ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ถึงวันละ ๑๐ คนบ้าง พระเจ้าข้า”   “ ดูก่อนวิสาขา ถ้าคนเหล่านั้นเป็นบุตรหลานของเธอจริง เธอก็คงมีหน้าเปียกชุ่มด้วยน้ำตาโดยไม่มีวันแห้งเหือดวิสาขา คนในโลกนี้ ผู้ใดมีสิ่งเป็นที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์ถึง ๑๐๐ ผู้ใดมีสิ่งที่เป็นที่รัก ๕๐ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์ถึง ๕๐ เช่นกัน และถ้าผู้ใดมีสิ่งเป็นที่รักเพียง ๑ เดียว ผู้นั้นก็จะมีทุกข์เพียง ๑ เดียวเช่นกัน”   “ ดูก่อนวิสาขา เราขอบอกเธอว่า ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพันที่คนทั้งหลายประสบกันอยู่ในโลกนี้ ก็เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ถ้าไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักแล้ว ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพันเหล่านั้นก็ไม่มี ผู้นั้นก็จะมีแต่ความสุข ดังนั้น ผู้ปรารถนาความสุขให้กับตนเอง ก็ไม่ควรทพสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก นางวิสาขา เมื่อได้ฟังพระพุทธดำรัสสอนจบลงแล้ว ก็คลายจากความเศร้าโศก แต่เพราะความที่นางมีลูกหลานหลายคน ซึ่งต่อจากนั้นอีกไม่นานนักหลานสาวอีกคนหนึ่ง ที่นางได้มอบหมายหน้าที่ประจำก็ได้ถึงแก่ความตายลงอีก นางวิสาขาก็ต้องเสียน้ำตาร่ำไห้ด้วยความรักอาลัยต่อหลานสาวเป็นครั้งที่สอง และพระพุทธองค์ก็ทรงเทศนาโปรดนางให้คลายความเศร้าโศกลงดุจเดียวกับครั้งก่อน

 

เรื่องของนางปฏาจารา

ตอนนางหนีไปกับคนใช้และทราบข่าวว่าบิดามารดาตาย

ฝ่ายธิดาเศรษฐีนั้นนุ่งผ้าปอน ๆ สยายผม เอารำทาสรีระถือหม้อน้ำ ออกจากเรือนเหมือนเดินไปกับพวกทาสี ได้ไปยังที่นั้นแต่เช้าตรู่. ชายคนรับใช้นั้นพานางไปไกลแล้ว อาศัยอยู่บ้านแห่งหนึ่ง ไถนาในป่าแล้ว ได้นำฟืนและผักเป็นต้นมา. ธิดาเศรษฐีเอาหม้อน้ำมาแล้ว ทำกิจมีการตำข้าวและหุงต้ม เป็นต้นด้วยมือตนเอง เสวยผลแห่งความชั่วของตน. ครั้งนั้น นางได้ตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว.ต่อมาเมื่อครรภ์แก่แล้วนางจึงอ้อนวอนสามีว่า

“ใคร ๆ ผู้อุปการะของเราไม่มีในที่นี้ ธรรมดามารดาบิดา เป็นผู้มีใจอ่อนโยนในบุตรทั้งหลาย ท่านจงนำฉันไปยังสำนักของท่านเถิด ฉันจักคลอดบุตรในที่นั้น.” สามีนั้นคัดค้านว่า “นางผู้เจริญ เจ้าพูดอะไร? มารดาบิดาของเจ้าเห็นฉันแล้ว พึงลงทัณฑ์ด้วยประการต่าง ๆ ฉันไม่อาจไปในที่นั้นได้.”

นางแม้อ้อนวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ เมื่อไม่ได้ความยินยอม.

นางรอเวลาที่สามีนั้นไปป่า จึงเรียกคนผู้คุ้นเคยมาสั่งว่า

“ถ้าเขามาไม่เห็นฉัน จักถามว่า ‘ฉันไปไหน?’

พวกท่านพึงบอกความที่ฉันไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตน” ดังนี้แล้วก็ปิดประตูเรือนหลีกไป.ฝ่ายสามีนั้นมาแล้ว ไม่เห็นภรรยานั้นจึงถามคนคุ้นเคย ฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็ติดตามไปด้วยคิดว่า “จักให้นางกลับ” เมื่อพบนางแล้วแม้เขาจะอ้อนวอนประการต่าง ๆ ก็มิอาจทำให้นางกลับได้.

ทีนั้น ลมกัมมัชวาตของนางปั่นป่วนแล้วในที่แห่งหนึ่ง.

นางเข้าไปในระหว่างพุ่มไม้พุ่มหนึ่ง พูดว่า

“นาย ลมกัมมัชวาตของฉันปั่นป่วนแล้ว”

นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนพื้นดิน คลอดเด็กโดยยากแล้ว คิดว่า

“เราพึงไปสู่เรือนแห่งตระกูลเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้ว” จึงกลับมาสู่เรือนกับสามี อยู่กันอีกเทียว.สมัยต่อมา ครรภ์ของนางตั้งขึ้นอีก. นางเป็นผู้มีครรภ์แก่แล้วจึงอ้อนวอนสามีโดยนัยก่อนนั่นแล เมื่อไม่ได้ความยินยอม จึงอุ้มบุตรด้วยสะเอวหลีกไปอย่างนั้นนั่นแล แม้ถูกสามีนั้นติดตามไปพบแล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะกลับ.ครั้งนั้น เมื่อชนเหล่านั้นเดินไปอยู่ มหาเมฆอันไม่ใช่ฤดูกาลเกิดขึ้น. ท้องฟ้าได้มีท่อธารตกลงไม่มีระหว่าง(ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก)ดังสายฟ้าแผดเผาอยู่โดยรอบ ดังจะทำลายลงด้วยเสียงแผดแห่งเมฆ. ในขณะนั้น ลมกัมมัชวาตของนางปั่นป่วนแล้ว นางเรียกสามีมากล่าวว่า “นาย ลมกัมมัชวาตของฉันปั่นป่วนแล้ว ฉันไม่อาจทนได้ ท่านจงรู้สถานที่ฝนไม่รดฉันเถิด.”สามีนั้นมีมีดอยู่ในมือ ตรวจดูข้างโน้นข้างนี้ เห็นพุ่มไม้ซึ่งเกิดอยู่บนจอมปลวกแห่งหนึ่ง เริ่มจะตัด.

ลำดับนั้น อสรพิษมีพิษร้ายกาจเลื้อยออกจากจอมปลวก กัดเขาในที่นั้นนั่นแล สรีระของสามีสีเขียวดังถูกเปลวไฟอันตั้งขึ้นในภายในไหม้อยู่ ล้มลงในที่นั้นนั่นเอง. ฝ่ายภรรยาก็ได้เสวยทุกข์อย่างมหันต์ เฝ้ามองดูการมาของสามีอยู่ โดยไม่ทราบว่าเขาได้ตายไปแล้ว ก็มิได้เห็นเขาเลย ในที่สุดก็คลอดบุตรคนที่ ๒ อีก.

ทารกทั้ง ๒ ทนกำลังแห่งฝนและลมไม่ได้ ก็ร้องไห้ลั่น. นางเอาทารกทั้ง ๒ คนนั้นไว้ที่ระหว่างอุทร ยืนคร่อมเด็กทั้งสองด้วยเข่าและมือทั้ง ๒ เพื่อบังฝนให้จนตลอดราตรี.ร่างกายทั้งสิ้นได้ซีดเป็นดังสีใบไม้เหลือง เหมือนไม่มีโลหิต.

ครั้นเมื่ออรุณขึ้นนางก็อุ้มบุตรคนที่เพิ่งคลอดซึ่งมีสีดังชื้นเนื้อสดด้วยเอว จูงบุตรคนโตด้วยนิ้วมือพลางกล่าวว่า “มาเถิด พ่อ บิดาเจ้าไปโดยทางนี้” แล้วก็เดินไปตามทางที่สามีไป ครั้นเมื่อเห็นสามีนั้นล้มตายบนจอมปลวกมีสีเขียวตัวกระด้าง ก็ร้องไห้รำพันว่า “เป็นเพราะเราที่เดียว สามีของเราจึงต้องตายที่หนทางเปลี่ยว” ดังนี้แล้วก็เดินไป.

นางเห็นแม่น้ำอจิรวดี เต็มเปี่ยมด้วยน้ำสูงประมาณเพียงหน้าอก เพราะฝนตกตลอดคืนยันรุ่ง นางไม่อาจลงน้ำพร้อมด้วยทารกทั้ง ๒ คนได้ เพราะตนมีความรู้อ่อน จึงให้บุตรคนใหญ่รออยู่ที่ฝั่งนี้ แล้วอุ้มบุตรคนเล็กข้ามแม่น้ำไปที่ฝั่งโน้น ปูลาดกิ่งไม้ไว้ให้บุตรนอนแล้วคิดว่าจะข้ามรับบุตรคนโต แต่ใจของนางก็ไม่อาจจะละความเป็นห่วงบุตรอ่อนได้ กลับแลดูแล้ว ๆ เล่า ๆ เดินไป.

ครั้นในเวลาที่นางถึงกลางแม่น้ำ เหยี่ยวตัวหนึ่งก็เห็นลูกคนเล็กซึ่งมีผิวแดงดังชิ้นเนื้อนอนอยู่ จึงโฉบลงมาจากอากาศ ด้วยสำคัญว่าเป็นชิ้นเนื้อนางเห็นมันโฉบลงเพื่อต้องการบุตร จึงยกมือทั้งสองขึ้น ร้องไล่ด้วยเสียงอันดัง ๓ ครั้งว่า “สู สู” เหยี่ยวไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยเพราะไกลกัน จึงเฉี่ยวเด็กบินขึ้นสู่ท้องฟ้าไปแล้ว. ส่วนบุตรผู้ยืนอยู่ที่ฝั่งนี้ เห็นมารดายกมือทั้งสองขึ้น ร้องเสียงดังท่ามกลางแม่น้ำ จึงกระโดดลงแม่น้ำโดยเร็วด้วยสำคัญว่ามารดาเรียกจึงถูกกระแสน้ำพัดหายไป เหยี่ยวเฉี่ยวเด็กอ่อนของนางไป บุตรคนโตก็ถูกน้ำพัดไป ด้วยประการฉะนี้.

นางเดินร้องไห้รำพันว่า “บุตรของเราคนหนึ่งถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีก็ตายเสียในที่เปลี่ยว” เมื่อพบบุรุษผู้หนึ่งเดินมาจากกรุงสาวัตถี จึงถามว่า “พ่อ ท่านอยู่ที่ไหน?”

บุรุษ. ฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี แม่.

ธิดาเศรษฐี. ตระกูลชื่อโน้นเห็นปานนี้ใกล้ถนนโน้นในกรุงสาวัตถีมีอยู่ ทราบไหม? พ่อ.

บุรุษ. ฉันทราบ แม่. แต่อย่าถามถึงตระกูลนั้นเลย ถ้าท่านรู้จักตระกูลอื่น จงถามเถิด.

ธิดาเศรษฐี. ฉันไม่มีธุระที่เกี่ยวกับตระกูลอื่น ฉันถามถึงตระกูลนั้นเท่านั้นแหละ พ่อ.

บุรุษ. แม่ ฉันบอกก็ไม่ควร.

ธิดาเศรษฐี. บอกฉันเถิด พ่อ.

บุรุษ. วันนี้ แม่เห็นฝนตกทั้งคืนยันรุ่งไหม?

ธิดาเศรษฐี. ฉันเห็น พ่อ ฝนนั้นตกทั้งคืนยังรุ่งตกเพื่อฉันเท่านั้นไม่ตกเพื่อคนอื่น แต่ฉันจักบอกเหตุที่ฝนตกแก่ท่านภายหลัง โปรดบอกความเป็นไปในเรือนเศรษฐีนั้นแก่ฉันก่อน.

บุรุษ. แม่ วันนี้ ในกลางคืน พายุได้พัดเอาเรือนล้มทับ คนที่อยู่ข้างในตายหมด วันนี้คนทั้งสามเหล่านั้นก็ถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน  แม่เอ๋ย ควันนั่นยังปรากฏอยู่.

นางได้ฟังดังนั้น ถึงความเป็นคนวิกลจริตยืนตะลึงอยู่ ร้องไห้รำพันบ่นเพ้อเซซวนไปว่า:-

“บุตร ๒ คน ตายเสียแล้ว สามีของเรา

ก็ตายเสียที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายก็ถูกเผา

บนเชิงตะกอนเดียวกัน.”

เที่ยวกระเซอะกระเซิงไป ไม่รู้สึกถึงผ้าที่นุ่งซึ่งได้หลุดลง คนทั้งหลายเห็นนางแล้ว เข้าใจว่หญิงบ้า จึงเอาหยากเยื่อ กอบฝุ่น โปรยลงบนศีรษะ ขว้างด้วยก้อนดิน.

พระศาสดาประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ ในพระเชตวันมหาวิหาร ได้ทอดพระเนตรเห็นนางผู้บำเพ็ญบารมีมาแสนกัลป์ สมบูรณ์ด้วยอภินิหารเดินมาอยู่.

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ นางปฏาจารานั้น เห็นพระเถรีผู้ทรงวินิจฉัยรูปหนึ่ง อันพระปทุมุตตรศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ จึงทำคุณความดีแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า “แม้หม่อมฉันพึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินิจฉัยทั้งหลายในสำนักพระพุทธเจ้าเช่นกับด้วยพระองค์.” พระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงเล็งอนาคตตั้งญาณไป ก็ทรงทราบความปรารถนาจะสำเร็จจึงทรงพยากรณ์ว่า

“ในอนาคตกาลหญิงผู้นี้จักเป็นผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินิจฉัยทั้งหลาย มีนามว่าปฏาจาราในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า.”

พระศาสดา ทรงเห็นนางผู้มีความปรารถนาตั้งไว้แล้วอย่างนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร กำลังเดินมาแต่ที่ไหนเทียว ทรงดำริว่า

“เว้นเราเสีย ผู้อื่นชื่อว่าสามารถจะเป็นที่พึ่งของหญิงผู้นี้ได้ ไม่มี”

จึงได้ทรงบันดาลให้นางเดินบ่ายหน้ามาสู่วิหาร

พวกพุทธบริษัทเห็นนางแล้วจึงกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าให้หญิงบ้านี้มาที่นี้เลย.”

พระศาสดาตรัสว่า “พวกท่านจงหลีกไป อย่าห้ามเธอ”

ในเวลานางมาใกล้ จึงตรัสว่า “จงกลับได้สติเถิด น้องหญิง.”

นางกลับได้สติด้วยพุทธานุภาพในขณะนั้นเอง.

ในเวลานี้ นางกำหนดความที่ผ้านุ่งหลุดได้แล้ว ให้เกิดหิริโอตัปปะขึ้น จึงนั่งกระโหย่ง.

ลำดับนั้น บุรุษผู้หนึ่งจึงโยนผ้าห่มไปให้นาง.

นางนุ่งผ้านั้นแล้วเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แทบพระบาททั้งสองซึ่งมีพรรณะดังทองคำแล้วทูลว่า “ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า เพราะว่าเหยี่ยวเฉี่ยวบุตรคนหนึ่งของหม่อมฉันไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีตายที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับตายเขาเผาเชิงตะกอนเดียวกัน.”

พระศาสดาทรงสดับคำของนาง จึงตรัสว่า

“อย่าคิดเลยปฏาจารา เธอมาอยู่สำนักของผู้สามารถจะเป็นที่พึ่งพำนักอาศัยของเธอได้แล้ว เหมือนอย่างว่า บัดนี้ บุตรคนหนึ่งของเธอถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีตายแล้วที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับฉันใด น้ำตาที่ไหลออกของเธอผู้ร้องไห้อยู่ในสงสารนี้ ในเวลาที่ปิยชนมีบุตรเป็นต้นตาย ยังมากกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

น้ำในสมุทรทั้ง ๔ มีประมาณน้อย น้ำตาของ

คนผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศก ไม่ใช่น้อย มาก 

กว่าน้ำในมหาสมุทรนั้น เหตุไร เธอจึงประมาทอยู่ 

เล่า? แม่น้อง.”

เมื่อพระศาสดาตรัสอนมตัคคปริยายสูตรอยู่อย่างนั้น ความโศกในสรีระของนาง ได้ถึงความเบาบางแล้ว.ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบที่นางผู้มีความโศกเบาบางแล้ว ทรงเตือนอีก แล้วตรัสว่า

“ปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าปิยชนมีบุตรเป็นต้น ไม่อาจเพื่อเป็นที่ต้านทาน เป็นที่พึ่ง หรือเป็นที่ป้องกันของผู้ไปสู่ปรโลกได้;เพราะฉะนั้น บุตรเป็นต้นเหล่านั้นถึงมีอยู่ ก็ชื่อว่าย่อมไม่มีทีเดียว ส่วนบัณฑิตชำระศีลแล้ว ควรชำระทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพานของตนเท่านั้น”

เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

“บุตรทั้งหลาย ไม่มีเพื่อต้านทาน บิดาก็ไม่มี

ถึงพวกพ้องก็ไม่มี เมื่อบุคคลถูกความตาย ครอบงำ 

แล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี;

บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นั้นแล้ว สำรวมในศีล 

พึงชำระทางไปนิพพานโดยเร็วทีเดียว.

ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราเผากิเลสมีประมาณเท่าฝุ่นในแผ่นดินใหญ่แล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

 

 

เรื่องของพระเจ้าพิมพิสาร                                                                                                                                 

ตอนทำบุญอุทิศให้พระประยูรญาติที่ล่วงลับไป     

                 ครั้งหนึ่งเมื่อพระราชาพิมพิสาร และบริวารได้ทรงสดับพระสัทธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโปรดจนบรรลุเป็นพระโสดาปัตติผลพร้อมหมู่ชนและบริวารเป็นอันมาก  องค์ราชา พิมพิสาร ทรงมีจิตศรัทธา ทรงถวายอุทยานเวฬุวันพร้อมสร้างเป็นวัด เพื่อให้พระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์สาวก ได้อาศัยเจริญสมณะธรรม กาลต่อมา คืนวันหนึ่ง องค์ราชาพิมพิสารขณะที่ทรงกำลังบรรทม พลันทรงได้ยินเสียงร้องโหยหวนอันน่ากลัวปรากฎขึ้นภายในพระราชวัง เช้าขึ้นพระราชาพิมพิสาร จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทรงกราบทูลถามถึงที่มาของเสียง ว่าเป็นเสียงอะไร ทำไมถึงได้โหยหวนน่าสะพรึงกลัวเช่นนั้น

              องค์สมเด็จพระ บรมสุคตเจ้า จึงทรงมีพุทธฏีกาตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตรทรงอย่าได้หวาดกลัวไปเลย เสียงที่ทรงได้ยินนั้นจะไม่เป็นผลร้ายอันใดแก่พระองค์เลย แล้วทรงเล่าเหตุที่มาของเสียงเหล่านั้นให้แก่พระราชาพิมพิสารได้ทรงสดับ ความว่า อดีตกาลนั้นย้อนหลังจากนี้ไป ๙๒ กัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงได้รับทูลอาราธนาจากพระราชาผู้ครองนครราชคฤห์ในอดีต ให้เสด็จประทับอยู่ในพระราชอุทยานพร้อมภิกษุสงฆ์บริวารอีก ๕๐๐ รูป เพื่อที่จะถวายภัตตาหาร เหตุการณ์ได้ดำเนินอยู่เช่นนี้เป็นเวลาหลายวัน จวบจนพระราชบุตรทั้ง ๓ ขององค์ราชา ได้ทูลขออนุญาตแก่พระบิดา เพื่อที่จะมีโอกาสถวายทานแก่พระปุสสะพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์ ด้วยพระองค์เองบ้าง  ราชาราชคฤห์ จึงทรงอนุญาตให้พระราชบุตรทั้ง ๓ ทำการถวายทานแก่พระปุสสะพระพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์ทั้งหลายได้พระ ราชบุตรทั้ง ๓ จึงได้ไปชวนขุนคลัง (ซึ่งก็คือพระราชาพิมพิสารในชาติปัจจุบัน) ให้มารวมจัดหาอาหารทั้งคาวและหวาน ขุนคลังพอได้รับหน้าที่ให้เป็นหัวหน้าจัดหาอาหารเลี้ยงพระ จึงชักชวนบรรดาญาติๆ ของตน ให้มาช่วยทำอาหารเลี้ยงพระ ต่างฝ่ายต่างก็ช่วยกันเป็นที่โกลาหล ขยันขันแข็ง ใหม่ๆ ตอนช่วงแรกๆ บรรดาญาติ ของขุนคลัง ก็ยังปฏิบัติตนดีอยู่ แต่พอเวลาล่วงเลยไป ชักเกิดความประมาท แอบบริโภคอาหารก่อนพระภิกษุสงฆ์เสียบ้าง แอบขโมยอาหารที่เขาทำไว้เพื่อถวายแก่พระพุทธเจ้า และหมู่สงฆ์ไปเลี้ยงลูกเมียและญาติของตนเสียบ้าง บรรดาญาติๆ ของขุนคลังแอบทำผิดอยู่เช่นนี้เป็นนิตย์ ด้วยความละโมบกาลต่อมา พระราชบุตรทั้ง ๓ และขุนคลัง กับบรรดาญาติบริวารตายลง พระ ราชบุตรทั้ง ๓ และขุนคลัง ตายแล้วได้ไปเสวยสุขอยู่บนสวรรค์ มีวิมานอันเรืองรองและโภคทรัพย์อันประณีตเลิศรสมากมายเป็นเครื่องอยู่ ส่วนบรรดาญาติๆ และบริวารของขุนคลัง ที่แอบขโมยอาหารของพระภิกษุสงฆ์ ต้องไปบังเกิดในขุมนรกสิ้นกาลช้างนาน ครั้นพ้นจากนรกนั้นแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดเป็นเปรต จำพวก ปรทัตตูปชีวี คือเปรตจำพวกมีผลบุญของญาติเป็นอาหาร  ปรทัตตูปชีวี เปรต เป็นเปรตที่มีเศษอกุศลอันเบาบาง จึงมีจิตอันระงับทุกข์โศกได้บางขณะ จึงมีโอกาสรับรู้บุญที่หมู่ญาติอุทิศให้ เมื่อรับรู้แล้วอนุโมทนาผลบุญนั้นๆ ความอดอยาก ยากแค้น ก็จะบรรเทาเบาบาง หรือหายไปสิ้น ด้วยเดชบุญของญาติ แต่ ถ้ายังมิได้มีญาติระลึกถึง ไม่อุทิศผลบุญให้ เปรตจำพวกนี้ ก็จะซัดเซพเนจร เร่ร่อน แสวงหาผลบุญจากหมู่ญาติคนต่อๆ ไป ถ้ายังมิได้ก็จะเวียนกลับมา รอใหม่ วนเวียนอยู่ใกล้ๆ หมู่ญาติ ด้วยความหวังว่า “เมื่อ ใด ญาติของเรา ทำบุญกุศลแล้ว เขาคงอุทิศให้แก่เราบ้าง” แต่เมื่อญาติทำบุญแล้วมิได้อุทิศผลบุญให้ หมู่เปรตพวกนี้ ก็จะเดินวนเวียนไปมา ด้วยความผิดหวัง หิวกระหาย ทุรนทุราย บางทีถึงกับเป็นลมล้มลงหมดสติไป ครั้นพอมีลมพัดมากระทบกาย ก็ฟื้นคืนสติมาได้แล้วคิดปลอบใจตนเองว่า “วันนี้ญาติเราระลึกไม่ได้ว่ามีเรา คราวต่อไปเขาคงจะระลึกได้” เมื่อ ทำบุญกุศล เขาคงจะอุทิศผลบุญให้เรา ในคราวหน้า และแล้วเปรตนั้น ก็ทนอดอยาก หิวกระหายต่อไป ด้วยความหวังว่า สักวันเราจะได้อาหารจากหมู่ญาติที่ระลึกถึง  ปรทัต ตูปชีวีเปรต ผู้เป็นญาติของพระราชาพิมพิสาร ได้รอคอยผลบุญของพระราชาพิมพิสาร ด้วยความอดอยาก หิวกระหาย จนกาลเวลาล่วงเลยมาจนถึง พระพุทธเจ้ากกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า หมู่ชนผู้คนทั้งหลายพอได้ฟังพระสัทธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ก็บังเกิดปีติโสมนัสยินดี มีศรัทธาที่จะบริจาคทานถวายปัจจัย ๔ แก่หมู่สงฆ์ ซึ่งมีพระกกุสันโธพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วแบ่งผลบุญอุทิศให้แก่หมู่ญาติของตนที่ล่วงลับไปแล้ว   ฝูง เปรตปรทัตตูปชีวี บางพวกที่ได้รับผลบุญของญาติ ก็แสดงความชื่นชมโสมนัสยินดี ดุจดังบุรุษสตรีผู้เดินทางมากลางทะเลทราย อดอยากและกระหายน้ำเป็นกำลัง ครั้นเดินมาเจอแหล่งน้ำและอาหารก็ลิงโลดยินดีเปล่งสาธุการ

              ฝูงเปรตเหล่านั้นก็ยกมือประนมเหนือเศียรเกล้า กล่าวสาธุรับผลบุญของญาติที่อุทิศส่งให้ แล้วได้พ้นจากอัตภาพของเปรตชนิดนั้นไปบังเกิดตามแต่บุพกรรมของตนๆ แสนสาหัสจึงชวนกันไปเฝ้า พระพุทธเจ้ากกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วทูลถามขึ้นว่า “หมู่ญาติ ของพวกข้าพระบาท จักระลึกถึงและอุทิศผลบุญให้พวกข้าพระบาทพ้นจากอัตภาพเปรตนี้เมื่อใดพระเจ้าข้า”  สมเด็จพระบรมศาสดา กกุสันโธพุทธเจ้า จึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า   ดู ก่อนผู้จมทุกข์ แม้สิ้นกาลในศาสนาของเรา ท่านทั้งหลายก็ยังไม่พ้นอัตภาพของเปรต จวบจนเราตถาคตนิพพานไปแล้วสิ้นเวลานานจนแผ่นดินสูงขึ้นได้ ๑ โยชน์ ปรากฏพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะพุทธเจ้า พวกท่านทั้งหลายจงไปถามพระพุทธโกนาคมนะ พระองค์นั้นเถิด จำเนียร กาลหลังจากสูญสิ้นศาสนา ของพระกกุสันโธพุทธเจ้าแล้ว กาลล่วงเลยมานับเป็นเวลาพุทธันดรหนึ่ง (เวลาระหว่างพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งกับอีกพระองค์หนึ่งบังเกิดขึ้น) ลุถึงศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโกนาคมนะ หมู่เปรตเหล่านั้นก็เข้าไปทูลถาม องค์สมเด็จพระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า “แม้ สิ้นศาสนาของเรา ท่านทั้งหลาย ก็ยังมิได้พ้นจากอัตภาพเปรตจวบจนแผ่นดินสูงขึ้นอีก ๑ โยชน์ จักปรากฏพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปพุทธเจ้า ขอท่านทั้งหลายจงรอทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเทอญ” หมู่ เปรตญาติพระราชาพิมพิสาร ก็อดทนอดกลั้นความหิวกระหาย ทุกข์ทรมานต่อไปจนลุถึงสมัยที่พระมหามุนีศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระนามว่ากัสสปพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น หมู่เปรตเหล่านั้นก็พากันเข้าไปทูลถามพระพุทธองค์ จึงทรงมีพระดำรัสตรัสว่า “แม้ ในศาสนาของเรานี้ ท่านทั้งหลายก็ยังจะไม่พ้นอัตภาพของเปรต จนกว่าเราตถาคตนิพพานไปแล้ว รอเวลาจนแผ่นดินสูงขึ้นมีประมาณ ๑ โยชน์ จักมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงนามว่าพระศรีศากยมุนีโคดมมาตรัสรู้ ในกาลนั้นจะมีขัตติยราช ทรงนามว่าพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นญาติของพวกท่านทั้งหลาย ได้สดับพระสัทธรรมจนมีดวงตาเห็นธรรมมีจิตโสมนัสเลื่อมใส สร้างวัดเวฬุวันถวาย รุ่งขึ้นจะถวายทานอันมีปัจจัย ๔ เป็นต้น“องค์ สมเด็จพระบรมศาสดาศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า จักนำพาญาติของเธออุทิศผลบุญให้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่อได้รับผลแห่งทานครั้งนั้นแล้ว ก็จักพ้นจากความทุกข์เดือดร้อน เปรตวิสัยก็จะอันตรธานหายไปจากตัวเธอทั้งหลายในกาลนั้น”  เมื่อ องค์สมเด็จพระจอมมุนีกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระดำรัสตรัสดังนี้แล้ว หมู่เปรตทั้งหลายนั้นก็พากันยินดี ต่างฝ่ายต่างละล่ำละลัก กล่าวว่า ข่าวดีแล้ว ข่าวมงคลแล้ว ชาวเราเอย อัตภาพนี้จักสิ้นสุดแก่พวกเราอีกไม่ช้าแล้ว ความหิวกระหายทุกข์ยากเดือดร้อนจักได้รับการผ่อนคลาย ชำระให้หายด้วยผลบุญของพระราชาพิมพิสารผู้เป็นญาติของเรา แม้จะต้องทนรอไปอีกจนสิ้นเวลาพุทธันดร ก็ยังดีกว่าที่ชาวเราจะรอโดยไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด ความหวังเรามีแล้ว แสงสว่างจะปรากฏแล้ว ข่าวนี้ช่างเป็นมงคลนัก ข่าวนี้ช่างเป็นมงคลนัก หมู่ เปรตเหล่านั้นต่างพากันแสดงกิริยาลิงโลดยินดี ในข่าวที่ได้รับรู้ด้วยเดชแห่งข่าวดีมีหวังนี้ สามารถทำให้ความหิวกระหาย ความทุกข์เดือดร้อนที่ปรากฏอยู่อย่างมิรู้เวลาจบสิ้น พอได้ฟังข่าวดีความทุกข์เดือดร้อนเหล่านั้น พลันได้ผ่อนคลายลงไป ช่างเป็นเวลาที่น่ายินดีของหมู่เปรต  ครั้นกาลเวลา เนิ่นนานมา จนสิ้นสุดศาสนาของพระมหามุนีกัสสปะพุทธเจ้า วันคืนผันผ่านไปนานแสนนาน จนแผ่นดินสูงขึ้นอีก ๑ โยชน์ จนมาถึงกาลศาสนาของเราสมณโคดม ญาติของหมู่เปรตเหล่านั้นก็ได้บังเกิดมาเป็น องค์มหาบพิตรพิมพิสารราชา เมื่อพระองค์ทรงถวายอุทยานแล้วสร้างอารามเวฬุวันถวายแก่ตถาคตและหมู่สงฆ์ แต่มิได้อุทิศผลบุญนั้นให้แก่หมู่ญาติเปรตผู้ได้รับความทุกข์ยากลำบากมาช้า นาน เปรตเหล่านั้นจึงมาส่งเสียงร้องเพื่อขอส่วนบุญ    เมื่อ องค์ราชาพิมพิสาร ทรงสดับพุทธฎีกาดังนั้น จึงทรงทูลถามว่าข้าพระองค์จักถวายทานในวันรุ่งขึ้น แล้วแบ่งบุญให้แก่หมู่เปรตเหล่านั้นจักได้รับส่วนบุญหรือไม่พระเจ้าข้า  พระบรมศาสดาทรงตรัสตอบว่า “ได้ซิมหาบพิตร   พระราชาพิมพิสาร จึงทูลอาราธนาพระบรมศาสดาให้เสด็จพร้อมหมู่สงฆ์ เข้าไปรับทานในพระราชวังในวันรุ่งขึ้นแล้วจึงเสด็จกลับ พอถึงเวลารุ่งเช้า

               องค์สมเด็จพระบรมสุคตเจ้าพร้อมหมู่สงฆ์ จึงเสด็จไปยังพระราชฐาน ของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อรับมหาทาน องค์ ราชาพิมพิสาร พร้อมบริวาร ได้ทรงให้การถวายสักการะต้อนรับพระผู้มีพระภาคและสงฆ์บริษัทเป็นอย่างดียิ่ง ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาทรงถวายฐานียะโภชนาหารอันประณีต แต่ละอย่างล้วนเลิศรส ทั้งคาวและหวาน เมื่อพระผู้มีพระภาคและหมู่สงฆ์ ทรงทำภัตรกิจเสร็จแล้ว ทรงแนะให้พระราชาพิมพิสาร ทรงหลั่งน้ำอุทิศผลบุญแก่หมู่เปรตด้วยคำว่า  “อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหตุ ญาตะโย” ขอผลบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงเป็นสุข เป็นสุข เถิด   คราว นั้นพระบรมสุคตเจ้า ได้ทรงเนรมิต ให้องค์ราชาพิมพิสารและบริวารได้เห็นเปรตทั้งหลาย ว่าเมื่อได้รับผลบุญจากญาติอุทิศให้แล้ว มีสภาพเช่นไรเมื่อ พระราชาพิมพิสาร ทรงหลั่งน้ำ ขณะนั้นสระโบกขรณีอันประกอบด้วยดอกปทุม ก็บังเกิดแก่บรรดาเปรตเหล่านั้น ให้ได้ดื่มกิน อาบชำระล้างร่างกาย บรรเทาความกระหาย หมดความกระวนกระวายลงไปด้วยพลัน อีกทั้งยังมีผิวพรรณเหลืองอร่ามดุจทองเนื้องามดูแล้วเจริญตา ร่างกายที่พิกลพิการก็กลับคืนดังคนปกติที่งามสง่า  อีกทั้งยังได้ รับความซึมซาบ จากอาหารทั้งคาวและหวานที่เป็นทิพย์ทำให้ร่างกายที่ผอมแคระแกร็น ก็กลับกลายมีน้ำมีนวลอ้วนพี มีความสุข อิ่มเอิบ ที่ได้รับซึมซาบจากรสฝูง เปรตเหล่านั้น แม้จะมีสภาพร่างกายที่ผ่องใสเป็นสุข แต่ก็ยังมิได้มีผ้านุ่งผ้าห่ม องค์ราชาพิมพิสาร จึงได้ทูลถามพระบรมสุคตเจ้าว่าจะทำประการใด  องค์สมเด็จพระบรมสุคตเจ้า จึงทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า ให้ถวายผ้าสบงจีวร และผ้านิสีทนะ แก่พระภิกษุสงฆ์   พระ ราชาพิมพิสาร มีรับสั่งให้บริวาร จัดหาผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้ารองนั่งนำมาถวายแก่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วทรงอุทิศผลบุญนั้นให้แก่บรรดาหมู่เปรตทั้งหลาย ผลบุญอันนั้น ทำให้บังเกิดเครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ที่นั่งอันเป็นทิพย์พร้อมวิมานที่ปรากฎบนอากาศแก่เปรตเหล่านั้น  เปรตเหล่านั้น เมื่อได้รับผลบุญของญาติ แล้วจึงเปล่งสาธุการ พากันเข้าไปอยู่ยังวิมานที่ปรากฏอยู่บนอากาศ พระ ราชาพิมพิสาร ครั้นได้เห็นอานิสงส์ในการให้ทาน และอุทิศผลบุญแก่บรรดาหมู่เปรตที่เป็นญาติ ทำให้ผู้จมทุกข์มีความสุขเห็นปานนี้ทรงมีความรื่นเริงยินดี เลื่อมใสศรัทธาในการทำทานมากยิ่งขึ้น จึงทรงทูลอาราธนาพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ มารับทานต่ออีก ๗ วัน พระบรมศาสดาพร้อมหมู่สงฆ์ เมื่อได้ทรงฉลองศรัทธา แก่องค์ราชาพิมพิสารสิ้นเวลา ๗ วันแล้ว จึงทรงกล่าวอนุโมทนาคาถาว่า “การทำบุญ เพื่ออุทิศผลบุญแก่เปรตนั้น ชื่อว่าเป็นการบูชาญาติอย่างยิ่ง   พวกเปรตเมื่อได้รับผลบุญแล้ว ย่อมพ้นจากอัตภาพของเปรตในทันที

 

 กลับสู่หน้าหลัก http://phramahaweera.siam2web.com?cid=1801029

 

 

 

 

 

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  137,359
Today:  3
PageView/Month:  165

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com